วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ใบเตยดับกลิ่นห้องน้ำ

ต้นใบเตย








ป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยเพราะนำมาใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการนำมาปรุงอาหารประเภทคาวและหวาน สมัยก่อนคนไทยหุงข้าวด้วยหม้อดิน นิยมเอาใบเตยใส่ลงไปด้วย โดยนำมาล้างให้สะอาดตัดเป็นท่อนๆ เพื่อความหอมของข้าวที่หุง กลิ่นใบเตยนั้นจะทำให้มีความอร่อยมากขึ้น มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ

ส่วนมากแล้วเตยหอมจะปลูกอยู่ภายนอกบริเวณอาคาร เพราะเป็นพืชที่ชอบแสงและชอบน้ำมาก และเมื่อปลูกไปสักระยะหนึ่ง ตามลำต้นของเตยหอมก็จะเกิดรากอากาศขึ้นมาเพื่อดูดความชื้นจากอากาศ ยังไม่ค่อยมีใครนำต้นเตยมาประดับภายในบ้านมากนัก ถ้านำเตยหอมมาปลูกประดับภายในบ้าน ควรจะให้ได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอ แม้จะไม่ได้รับแสงแดดก็ใช้แสงจากไฟฟ้าแทนก็ได้ได้ 

ปัจจุบันเตยยังคงเป็นที่รู้จักกันในทุกระดับชนชั้น สามารถนำมาเป็นเครื่องดื่มน้ำใบเตยแทนน้ำเปล่าได้ หรือนำน้ำแข็งใส่ลงไปเวลาดื่มก็อร่อยดี แต่ไม่ใส่น้ำตาลจนหวานมาก ส่วนใหญ่จะนำใบเตยสดมาคั้นน้ำตกแต่งสีและกลิ่นในอาหาร และใช้แทนสีเขียวได้ดี หรือใช้รองก้นหม้อเวลานึ่งข้าวเหนียวก็จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ใบสดของใบเตยนอกจากนำมาเป็นยาและอาหารแล้ว ยังเป็นส่วนประกอบในการจัดดอกไม้ จัดแจกัน ตกแต่งโต๊ะอาหาร ใช้ดับกลิ่นเหม็นอับในบ้าน ในห้องครัว ในรถ ในห้องน้ำ โดยเฉพาะพวกรถรับจ้างต่างๆ เช่น รถแท็กซี่หรือรถประจำทาง โดยการใช้ใบเตยสดและใบเตยตากแห้ง


และที่สำคัญกลิ่นของใบเตยหอมกลั่นด้วยไอน้ำจะมีสารหอมประกอบหลายชนิด ในทางการแพทย์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ส่วนรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน แก้กระษัยน้ำเบาพิการ นอกจากใบเตยจะให้สีที่น่ารับประทานแล้ว ยังมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน เรียกว่า Fragrant Screw Pine ทำให้อาหารที่ใส่น้ำใบเตยมีรสหอมเย็นชื่นใจ

วิธีทำให้ใบเตยหอม
ตัดใบเตย (เยอะหน่อย) 5 - 10 ใบ หรือมากกว่านั้น แล้วก็นำมาตากแดด สักพัก แล้ว ก็นำไปซ้อน ไว้ในบริเวณที่ต้องการ เช่น ใต้ที่นั่ง ใต้ที่วางเท้า หรือที่วางของหลังผุ้โดยสาร ด้านหลังเมื่อใบเตย เจอกับแดด กลิ่นของใบเตย จะช่วยดุดซับความอับและยังทำให้รถมีกลิ่นหอมสดชื่น ธรรมชาติ ด้วย





อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=26effaf42fdd4b2a
          http://benefit-kkw2.blogspot.com/


วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มารู้จักโปรแกรม Google SketchUp กันเถอะ

ความหมายของ Google SketchUp


  Google SketchUp เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างแบบจำลอง 3D (Three - Dimensional) ที่มีความง่ายต่อการใช้งาน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ในงานออกแบบเชิงสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายในและภายนอก การออกแบบกลไกลการทำงานของเครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ ภูมิประเทศ ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงงานออกแบบฉาก อาคาร และสิ่งก่อสร้างในเกม หรือจะเป็นกมรจัดฉากทำ Story Boards ในงานภาพยนต์หรือละครโทรทัศน์ก็สามารถทำได้



   
ส่วนประกอบของโปรแกรม Google SketchUp

Title Bar (แถบไตเติล)
แถบสำหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่ ชื่อไฟล์บนแถบไตเติ้ลจะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์

Menu Bar (แถบเมนู)
แถบที่รวบรวมคำสั่งต่างๆในการทำงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 หมวดด้วยกันดังนี้

 File: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับไฟล์งานเช่น การสร้างไฟล์งาน เปิดไฟล์งาน การบันทึก การนำเข้า/ส่งออก การสั่งพิมพ์ เป็นต้น

Edit: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับปรับแต่งแก้ไขเช่น การคัดลอก ลบ ซ่อน/แสดงวัตถุ สร้างGroup/Component เป็นต้น
View: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทำงานเช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ เส้นไกด์ แกนอ้างอิง เงา หมอก การแสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไข Group/Component เป็นต้น
Camera: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของมุมมองในการทำงานเช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น
Draw: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการวาดรูปทรงเช่น กาววาดเส้นตรง เส้นโค้ง สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
Tools: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการทำงานเช่น Push/Pull การหมุน/ย้ายวัตถุ การสร้างตัวอักษรสามมิติ การวัดขนาด เป็นต้น
Window: เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่างหรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมในการทำงานและปรับแต่งค่าต่างๆของโปรแกรม
Help: เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนำการใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียนและการตรวจสอบการอัพเดต     
อ้างอิง:
http://yai-design.blogspot.com/2012/08/google-sketchup_12.html